รู้หรือไม่!? ทิ้งขยะ แล้วขยะไปไหนต่อ🧐
ปริมาณขยะใน กทม. (ข้อมูลที่จัดเก็บได้ ปีงบประมาณ 2566) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 (รวม 151 วัน) เกิดขยะมูลฝอยจำนวน 1,314,778.71 ตัน 🔥
🔍 ท่านสามารถคลิกลิงก์ เพื่อดูปริมาณขยะมูลฝอย ใน กทม. ได้ที่ shorturl.at/oCDMS
🗑️🧐 การบริหารจัดการขยะ
ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ของ กทม.
.
🎯 ต้นทาง เน้นการควบคุม และลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด คัดแยกขยะ และใช้ประโยชน์จากขยะที่ต้นทาง
🎯 กลางทาง จัดรถจัดเก็บขยะมูลฝอยตามวันเวลาที่กำหนดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่มีขยะตกค้าง
ประเภทขยะมูลฝอย และความถี่ ในการจัดเก็บ ⏰
o มูลฝอยทั่วไป: เก็บทุกวัน หรือเว้นวันตามประเภทของสถานที่
o มูลฝอยจากเศษผักจากตลาด: จัดเก็บทุกวัน
o มูลฝอยชิ้นใหญ่/รีไซเคิล: จัดเก็บทุกเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามที่เขตกำหนด
o มูลฝอยอันตราย: จัดเก็บทุกวันอาทิตย์ หรือตามที่เขตกำหนด
o ขยะติดเชื้อ: ตามวันที่นัดหมายกับสถานพยาบาล
o มูลฝอยกิ่งไม้ มูลฝอยก่อสร้าง: เก็บตามที่รับแจ้งจากประชาชน
🎯 ปลายทาง กำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
.
🌳 โครงการ และนโยบาย
ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และกำลังจะดำเนินการ
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และลดปริมาณขยะ (zero waste to landfill) แนวคิด Sustainable Development Growth (SDCGs) และ BCG (Bio-Circular-Green Economy)
- โครงการไม่เทรวม
- BKK ZERO WASTE
- โครงการมือวิเศษกรุงเทพ
📍กทม. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ลงทะเบียนโครงการไม่เทรวม ได้ที่ฝ่ายรักษาความสะอาด และสวนสาธารณะสำนักเขตในพื้นที่ กทม. ทั้ง 50 เขต เราตามหาคนมีใจ “ไม่เทรวม” 💪🏼
#สิ่งแวดล้อมดี