ศาลาว่าการกทม. – เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวภายหลังดำเนินกิจกรรมผู้ว่าฯ สัญจร สำนักงานตรวจสอบภายใน (สตน.) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ว่า สตน. เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการตรวจสอบ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกทม. ซึ่งถือเป็นภาระที่หนัก เพราะกทม.มีหน่วยย่อยจำนวนมาก การทำงานตรวจสอบภายในจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในความโปร่งใส จึงได้ให้นโยบาย ดังนี้
1.ให้ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้นและ มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ 2.ฝ่ายตรวจสอบต้องมีความพร้อม 3.หน่วยรับตรวจต้องมีความเข้าใจในเรื่องระบบบัญชี และ 4.นอกจากเรื่องความโปร่งใส ต้องเน้นเรื่องประสิทธิภาพในการให้บริการด้วย เพราะประชาชนคาดหวังประสิทธิภาพในการให้บริการว่าตอบสนองกับความต้องการได้เร็วแค่ไหน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเดินหน้า ซึ่งหัวใจสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนคือบุคลากร ทั้ง 80,000 คนของ กทม.ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้บริการมีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส
ส่วนสัดส่วนผู้ตรวจ 60 คน ต่อ 750 หน่วยงานนั้น จริงๆ แล้วยังมี อัตราที่ขาดอีก 8 อัตรา มี 2 แนวต้องพิจารณา คือ กรอบอัตราที่เหมาะสม และบางส่วนอาจจะต้องนำบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและ ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ (Outsource) เพราะเป็นเรื่องเทคนิค เช่น การตรวจเรื่องรายละเอียดโรงกำจัดน้ำเสีย ต้องมีเทคนิคหรือผู้เชี่ยวชาญ บางส่วนอาจต้อง Outsource จากหน่วยงานภายนอก เช่น วิศวกรรมสถาน ขณะเดียวกันพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีให้พอ จึงต้องเร่งบรรจุอัตราที่ยังขาดอยู่
“สิ่งสำคัญมากๆ ในอนาคต คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ เพราะถ้าทุกส่วนสามารถเข้าสู่ดิจิทัล แพลตฟอร์มได้ เช่น panerai imitacion การบันทึกข้อมูลพื้นฐานเป็นดิจิทัลทั้งหมด การตรวจสอบจะทำ ได้ง่ายขึ้น หากสามารถใช้ระบบเอไอมาช่วยตรวจสอบเอกสารก็จะช่วยคนในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เชื่อว่าทางแก้ปัญหาในระยะยาวไม่ใช่การเพิ่มคนแต่เป็นการเพิ่มเทคโนโลยี ส่วนฝ่าย รับตรวจก็ต้องมีดิจิทัลด้วย เช่น การบันทึกทรัพย์สินให้อยู่ในระบบดิจิทัล การทำสัญญาเป็น โอเพ่น ดาต้า ให้หมด อยู่ที่นี่ก็ตรวจได้” นายชัชชาติกล่าว
นางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกทม. กล่าวว่า การตรวจสอบภายในไม่ใช่การจับผิด เป็นการตรวจเพื่อให้คำแนะนำและเชิงป้องกัน ดังนั้น ความร่วมมือในการดำเนินการทั้งผู้รับตรวจและผู้ตรวจต้องเป็นความสัมพันธ์อย่างตรงไปตรงมา และเป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น อะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงทางหน่วยตรวจจะแจ้งไปตามลำดับขั้น หน่วยรับตรวจจะต้องไปศึกษาแล้วดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้กระบวนการทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า แล้วก็สอดคล้อง
กับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง
ที่มา: นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 28 มิ.ย. 2566