เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก 🙏🏾
✅ แอดนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยมาฝากครับ
📍สมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย มี ๙ ชั้น และ ๒๑ อันดับ ดังนี้
ชั้น ๑ สกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสังฆราช
– สมเด็จสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ชั้น ๒ มหาสังฆนายก เจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัตร
– สมเด็จพระราชาคณะ มี ๔ ตำแหน่ง คือ
พระพุทธโฆษาจารย์ พระวันรัต พระพุทธาจารย์ และพระมหาวีรวงศ์ เป็นต้น
ชั้น ๓ พระราชาคณะชั้นธรรม มี ๒ อันดับ คือ
๓.๑ พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัตร
๓.๒ พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
ชั้น ๔ พระราชาคณะชั้นธรรม
– มีราชทินนามว่า “ธรรม” นำหน้านาม
เช่น พระธรรมปิฏก พระธรรมกิตติโสภณ และพระธรรมวิสุทธาจารย์ เป็นต้น
ชั้น ๕ พระราชาคณะชั้นเทพ
– มีราชทินนามว่า “เทพ” นำหน้านาม
เช่น พระเทพวิสุทธิโสภณ พระเทพสังวรญาณ และพระเทพวิสุทธิเมธี เป็นต้น
ชั้น ๖ พระราชาคณะชั้นราช
– มีราชทินนามว่า “ราช” นำหน้านาม
เช่น พระราชศิริธรรมเมรี พระราชนันทาจารย์ และพระราชมงคลมุนี เป็นต้น
ชั้น ๗ พระราชาคณะชั้นสามัญ
– ไม่มีราชทินนามนำหน้า เช่น พระวิเชียรโมลี พระชัยนาทมุนี และพระกวีรญาณ เป็นต้น
ชั้น ๘ พระครู เป็นตำแหน่งรองจากพระราชาคณะชั้นสามัญ
– ใช้คำว่าพระครูนำหน้านาม เช่น
พระครูพิศาลสังฆโสภณ พระครูวิเศษบุญญากร และพระครูวิสุทธิ์วุฒิคุณ เป็นต้น
สมณศักดิ์ชั้นพระครูมี ๑๐ อันดับ ดังนี้
๘.๑ พระครูชั้นสัญญบัตรชั้นพิเศษ
๘.๒ พระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นเอก
๘.๓ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท
๘.๔ พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี
๘.๕ พระครูปลัด
๘.๖ พระครูธรรมธร
๘.๗ พระครูวินัยธร
๘.๘ พระครูคู่สวด
๘.๙ พระครูสมุห์
๘.๑๐ พระครูใบฎีกา
ชั้น ๙ ชั้นฐานานุกรม ไม่มีราชทินนามนำหน้า แต่ใช้ตำแหน่งนำหน้า เช่น พระสมุห์ …..และพระใบฎีกา ….. มีทั้งหมด ๓ อันดับ
๙.๑ พระปลัด
๙.๒ พระสมุห์
๙.๓ พระใบฏีกา
ลำดับสมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
นับแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา มีการจัดลำดับและชื่อตำแหน่งสมณศักดิ์ไว้ดังนี้
๑. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๒. สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฏ มีจำนวนที่กำหนดไว้ ๘ รูป เป็นฝ่ายมหานิกาย ๔ รูป และฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๔ รูป ราชทินนาม ของสมเด็จพระราชาคณะชั้นนี้ เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ สมเด็จพระมหามุนี สมเด็จพระมหาธีราจารย์
๓. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ มีจำนวนที่กำหนดไว้ ๒๐ รูป เป็นฝ่ายมหานิกาย ๑๓ รูป และธรรมยุติกนิกาย ๗ รูป ราชทินนามของพระราชาคณะชั้นนี้ เช่น พระศาสนโสภณ พระญาณวโรดม พระพรหมมุนี พระสุธรรมาธิบดี
๔. พระราชาคณะชั้นธรรม มีจำนวนที่กำหนดไว้ ๔๕ รูป เป็นฝ่ายมหานิกาย ๓๐ รูป และฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๑๕ รูป ราชทินนามของพระราชาคณะชั้นนี้ เช่น พระธรรมโสภณ พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมราชานุวัตร พระธรรมคุณาภรณ์
๕. พระราชาคณะชั้นเทพ มีจำนวนที่กำหนดไว้ ๘๖ รูป เป็นฝ่ายมหานิกาย ๕๖ รูป และฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๓๐ รูป ราชทินนามของพระราชาคณะชั้นนี้ เช่น พระเทพมงคลเมธี พระเทพวิสุทธิโมลี พระเทพเวที พระเทพโสภณ
๖. พระราชาคณะชั้นราช มีจำนวนที่กำหนดไว้ ๑๘๙ รูป เป็นฝ่ายมหานิกาย ๑๓๕ รูป ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๕๔ รูป ราชทินนามของพระราชาคณะชั้นนี้ เช่น พระราชปัญญาโมลี พระราชวิสุทธาจารย์ พระราชวรเมธี พระราชปัญญาภรณ์
๗. พระราชาคณะชั้นสามัญ มีจำนวนที่กำหนดไว้ ๔๗๗ รูป เป็นฝ่ายมหานิกาย ๓๔๘ รูป ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๑๒๙ รูป ราชทินนามของพระราชาคณะชั้นนี้ เช่น พระจริยเวที พระอินทโมลี พระวินัยการกวี พระนิมมานโกวิท
พระราชาคณะชั้นสามัญนี้ยังแบ่งเป็น ๔ ฝ่าย คือ ชั้นสามัญที่เป็นเปรียญ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนา และชั้นสามัญยก ซึ่งชั้นสามัญยกนี้ สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ
๘. พระครู ตำแหน่งสมณศักดิ์ชั้นพระครู แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ
-พระครูชั้นสัญญาบัตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง และพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ มีราชทินนามต่อท้าย เช่น พระครูสุนทรธรรมวิฑูร พระครูศาสนภารพินิจ
-พระครูฐานานุกรม คือ พระสงฆ์ที่พระราชาคณะตั้งแต่ชั้นราชขึ้นไป แต่งตั้งจากพระรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร ตามจำนวนที่มีระบุไว้ในสัญญาบัตร คือ ที่มีพระบรมราชานุญาตไว้ ไม่มีพัดยศ และไม่มีสัญญาบัตร
-พระครูชั้นประทวน เป็นพระสงฆ์ที่คณะสงฆ์แต่งตั้ง เนื่องจาก ได้ทำคุณประโยชน์ แก่ศาสนา ประเทศชาติ ไม่มีราชทินนาม ไม่มีสัญญาบัตร มีแต่ใบประกาศแต่งตั้ง และไม่มีพัดยศ
#๙๖พรรษาสมเด็จพระสังฆราชฯ
#สมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย
#ลำดับสมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย