Page 227 - BMA Plan 68
P. 227
แผนปฏิบตั ริ าชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568
6. ด้านเรียนดี
บทวเิ คราะหส์ ถานการณ์และทิศทางการพัฒนากรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568
ดา้ นเรียนดี
ที่ผ่านมาการพัฒนากรุงเทพมหานครด้านการศึกษา (Education) ได้ดำเนินการภายใต้แผนพัฒนา
กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำด้วยการ-
บริหารเมืองรูปแบบอารยะสำหรับทุกคน ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 3.3 การศึกษาสำหรับทุกคน โดยเป้าหมายการพัฒนา
ตามแผนปฏบิ ตั ริ าชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 ประกอบดว้ ย 10 เปา้ ประสงค์ แบง่ เปน็ ประเด็นดา้ นการ-
พัฒนาการศึกษา มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักการศึกษารับผิดชอบการพัฒนาการศึกษาภายในโรงเรียนสังกัด
กรงุ เทพมหานคร และสำนกั พัฒนาสังคมรบั ผดิ ชอบการพฒั นาศนู ย์เด็กเลก็ จำนวน 6 เปา้ ประสงค์ ไดแ้ ก่
(1) เด็กที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาตามความต้องการ โดยใน
ปีการศึกษา พ.ศ. 2566 มีนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมด 254,219 คน จาก 437 โรงเรียน
และกรุงเทพมหานครมีการจัดสรรงบอุดหนุนอุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบ และค่าอาหารเช้า/กลางวันให้กับนักเรียน
ในสังกดั กรงุ เทพมหานครทุกคน เพอ่ื ลดต้นทุนในการเขา้ ถงึ การศึกษาของเด็กและเยาวชนในพ้ืนท่ีกรุงเทพมหานคร
(2) โรงเรยี นสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถให้บริการการศึกษาสำหรับผู้เรียนในกลุ่มท่ีมีความต้องการ
พิเศษ กรุงเทพมหานครได้มีการเปิดโรงเรียนการจัดการศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม) ให้กับนักเรียนที่มีความต้องการ
การศึกษาพิเศษ โดยภายในโรงเรียนจะมีครทู ี่ไดร้ ับการอบรมความรู้ในการดูแลเด็กพิเศษ ซง่ึ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
มีโรงเรียนที่เปิดการจัดการศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม) ทั้งสิ้น 158 โรงเรียน มีนักเรียนการศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม) จำนวน
4,213 คน
(3) โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น มีเป้าหมายเพื่อสร้าง
มาตรฐานทางการศึกษาให้ทัดเทียมกับมาตรฐานระดับประเทศ โดยจะมุ่งพัฒนาผลลัพธ์ทางการทดสอบให้สูงกว่า
ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ได้แก่ การประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test: RT) ของนักเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษาปีท่ี 1 มีผลเฉล่ยี การทดสอบอยู่ที่ 81.57 คะแนน สูงกวา่ คา่ เฉลี่ยระดับประเทศทีม่ ีค่าเฉล่ีย 77.28 คะแนน
การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test: NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลเฉล่ีย
การทดสอบอยู่ที่ 58.53 คะแนน สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศที่มีค่าเฉลี่ย 52.50 คะแนน การทดสอบทดสอบ
ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยระดับชั้น ป.6 มีค่าเฉลี่ย 4 รายวิชาที่ 42.34 (ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
40.18) ระดับช้นั ม.3 มีคา่ เฉลี่ย 4 รายวชิ าท่ี 35.67 (ค่าเฉลยี่ ระดับประเทศ 37.09) ระดับชน้ั ม.6 มคี า่ เฉลย่ี 5 รายวิชา
ท่ี 29.45 (คา่ เฉล่ียระดับประเทศ 42.33)
(4) นักเรียนมีทักษะความรู้และความสามารถเพิ่มขึ้น โดยจะมุ่งส่งเสริมทักษะทางภาษาของนักเรียน
ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษด้วยการทดสอบ Common European Framework
of Reference for Languages (CEFR) และการทดสอบภาษาจีนดว้ ยการทดสอบ Youth Chinese Test (YCT) โดยใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้มีการนำร่องทดสอบในโรงเรียน 2 ภาษาหลักสูตรไทย-อังกฤษ และหลักสูตรไทย - จีน
โดยมีผลดังนี้ นักเรียนที่เข้าสอบทดสอบ CEFR 1,650 คน ผ่านการประเมินระดับ A1 จำนวน 972 คน คิดเป็นร้อยละ
57.45 และนักเรียนที่เข้าสอบ YCT 253 คน ผ่านการประเมินระดบั 1 จำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 94
(5) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะประจำ
สายงาน มีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ
111