Page 316 - BMA Plan 68
P. 316

แผนปฏิบัติราชการกรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568

                                   9. ด้านบริหารจัดการดี

         บทวิเคราะหส์ ถานการณ์และทศิ ทางการพัฒนากรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568
                                    ดา้ นบรหิ ารจดั การดี

             ยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครด้านการบริหารจัดการดี ประกอบด้วย 2 ประเด็นการพัฒนา ได้แก่
(1) ระบบงาน เงิน คน ระเบียบที่มีประสิทธิภาพ และ (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมบริหาร
จัดการเมือง มีวัตถุประสงค์เพือ่ ยกระดับการใหบ้ ริการประชาชนให้ดีข้ึน โดยการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ
ที่กรุงเทพมหานครดำเนินการ และนำระบบการจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budgeting) มาใช้
ในกระบวนการงบประมาณ พัฒนาการให้บริการออนไลน์ การพิจารณาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากฎหมาย
และระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการในยุคดิจิทัลเพื่อให้เอื้อต่อการบริหารจัดการที่สะดวกคล่องตัวมากข้ึน
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้งการเปิดรับบุคคลที่มีศักยภาพสูงเข้ามาเป็นข้าราชการ
การจดั ระบบค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับผลงาน และการรกั ษาทรัพยากรบุคคลท่ีมีความสามารถใหค้ งอยู่ในระบบ
ราชการ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดงบประมาณ
ของกรุงเทพมหานคร การประเมินผลผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการติดตาม
ตรวจสอบความโปรง่ ใสในกระบวนการการปฏิบัติราชการของทุกหนว่ ยงานในสงั กัดกรุงเทพมหานคร

             สำหรับการดำเนินการในปี พ.ศ. 2567 กรุงเทพมหานครมีความก้าวหน้าในการปรับปรุง
กระบวนงานและเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การให้บริการสาธารณะในรูปแบบดิจิทัลมากพอสมควร โดยหน่วยงานต่าง ๆ
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงาน/
ส่วนราชการฯ อย่างตอ่ เนือ่ งเพื่อยกระดับการเปลย่ี นผ่านการให้บริการประชาชนท้ังในระบบออฟไลน์และออนไลน์
มีการทำชุดข้อมูลเปิดศักยภาพสูง (high value dataset) เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์ม Open Bangkok เป็นการเชื่อมโยง
แลกเปลี่ยนขอ้ มลู ระหว่างหนว่ ยงานกรุงเทพมหานครและหนว่ ยงานภายนอก รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำหรับ
ประชาชนผู้สนใจศึกษา นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเมือง
ผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ซึ่งเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่
กรุงเทพมหานครและแจ้งเรื่องราวร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่สะดวกในการใช้บริการของหน่วยงานสังกัด
กรุงเทพมหานคร

             อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครยังคงมีอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ
โดยมีข้อจำกัดที่สำคัญมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ มีขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงาน
ของระบบราชการที่ล้าสมัย ไม่สนับสนุนการทำงานตามแนวคิดรัฐบาลดิจิทัลแบบครบวงจร ขาดการจัดเก็บและ
บูรณาการเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในระบบดิจิทัลในภาพรวม เนื่องจากแต่ละหน่วยงานยังคงยึดถือกรอบอำนาจหนา้ ท่ี
อีกทั้งยังยึดติดกับบทบาทการเป็นผู้ดำเนินการเองมากกว่าการให้ความร่ วมมือและสนับสนุนการทำงานร่วมกับ
หน่วยงานอื่น โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมถึงภาคเอกชน แม้ว่าอาจมีหน่วยงาน
ภายนอกที่มีขีดความสามารถในการดำเนินงานเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าก็ตาม ซึ่งอุปสรรคดังกล่าว
เป็นประเด็นเดียวกับที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการระดับประเทศ ส่งผลให้การปฏิบัติงานภาครัฐมีความซ้ำซ้อน
ดา้ นภารกจิ ระหว่างสว่ นราชการในระดับตา่ ง ๆ ท่ีมคี วามแยกสว่ น และขาดการแบง่ ปนั หรอื พฒั นาข้อมลู ร่วมกัน

             ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนากรุงเทพมหานครตามนโยบายของผู้บริหาร
กรุงเทพมหานครคือ ประเด็นความยั่งยืนด้านการเงินการคลัง กล่าวคือ กรุงเทพมหานครรายจ่ายประจำค่อนข้างสูง
โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ในขณะที่มีฐานภาษีการจัดเก็บภาษีที่สามารถจัดเก็บได้เองค่อนข้างจำกัด
ส่งผลต่อการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งโครงสร้างประชากรของกรุงเทพมหานครที่ได้เข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                                                                                                    161
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321