Page 28 - BMA Plan 68
P. 28

แผนปฏิบัตริ าชการกรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568

                                     1. ด้านเดนิ ทางดี

         บทวเิ คราะห์สถานการณแ์ ละทิศทางการพฒั นากรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568
                                      ดา้ นเดินทางดี

             ปริมาณรถทุกประเภทที่จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 30 กันยายน ปี 2566
จากกรมการขนส่งทางบก1 มีจำนวนมากกว่า 11.91 ล้านคัน มีการจดทะเบียนรถใหม่ทุกประเภทจำนวนมากกว่า
755,000 คนั (ม.ค. - ก.ย. 2566) และมีแนวโนม้ เพ่มิ ขนึ้ 2 ประกอบกับข้อมลู จากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง
และจราจร กระทรวงคมนาคมพบว่าร้อยละ 69 ของรูปแบบการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
เป็นการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ และอีกร้อยละ 31 เป็นการเดินทางด้วยระบบขนส่ง
สาธารณะโดยเฉพาะรถโดยสารประจำทาง ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,569 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น
พื้นที่ถนน 113.06 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 7.2 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณรถยนต์
ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นบริเวณเส้นทางก่อสร้างขนส่งมวลชนระบบรางในหลายพื้นที่
ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการบรรเทาปัญหาการจราจรในเส้นทางหลัก แต่ยังอยู่ระหว่างการดำเนนิ การให้ครอบคุลม
พื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน (ปี 2566) มีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 8 สาย 141 สถานี ครอบคลุม
ระยะทางกว่า 211.94 กิโลเมตร โดยในการพัฒนาเส้นทางขนส่งมวลชนระบบรางในความรับผิดชอบ
ของกรุงเทพมหานครนั้น นอกจากรถไฟฟ้าสายสีเขียว และส่วนต่อขยายแล้ว กรุงเทพมหานครมีผลการศึกษา
การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดรอง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางสู่ระบบหลัก (Feeder)
ซึ่งอาจส่งผลให้ทำให้ประชาชนมีแนวโน้มลดการพึ่งพาการเดินทางทางถนนลง ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า
รางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา (วัชรพล – ทองหล่อ) และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit)
สายบางนา – สวุ รรณภูมิ

             นอกจากน้ี การใหบ้ ริการรถโดยสารประจำทาง ซง่ึ เปน็ Feeder สำคัญในการขนส่งผโู้ ดยสารสู่ระบบ
รางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีจำนวนมากถึง 457 เส้นทาง จำนวนกว่า 14,000 คัน ทั้งรถของ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถของบริษัทเอกชนร่วมวิ่งบริการ แต่ยังมีปัญหาความครอบคลุมใน
บางเส้นทาง และคณุ ภาพการให้บริการ ซึง่ กรงุ เทพมหานครสามารถจัดให้มีรถเวียน (Shuttle Bus) รองรับในบาง
เส้นทาง หรือใช้ช่วงเวลาทีม่ กี จิ กรรมหรือเทศการสำคัญ รวมท้งั จดั ใหม้ ศี าลาท่ีพักผู้โดยสาร และป้ายหยุดรถประจำ
ทางท่มี ีคุณภาพ สวา่ ง ปลอดภัย และมีขอ้ มูลการเชือ่ มต่อการเดินทางครบถว้ น

          สำหรับเรือโดยสารของกรุงเทพมหานครนั้น ปัจจุบัน เปิดให้บริการเดินเรือไฟฟ้า 2 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม และเส้นทางคลองแสนแสบ (ส่วนต่อขยาย) ซึ่งเชื่อมต่อจากเส้นทางคลองแสนแสบเดิม
ไปยังเขตมีนบุรี นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังมีแนวคิดจะขยายเส้นทางการให้บริการ โดยศึกษาเส้นทางในคลอง
สายหลักอื่นๆ ปรับปรุงทางเข้า-ออก ความปลอดภัยท่าเรือ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือและส่งเสริมให้ภาคเอกชน
ให้บริการเดินเรือในเส้นทางท่ีมีศักยภาพ เช่น คลองบางมด คลองภาษเี จริญ

          นอกจากนี้ ยังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทาง
ที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง (Non–Motorized Transport) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่าย
ทางจักรยาน ทั้งถนนสายหลัก ถนนสายย่อยและเส้นทางตามซอยต่างๆ ให้เดินได้ ปั่นสะดวก ส่งเสริมการใช้
จักรยานในชุมชนเพื่อการเดินทางระยะสั้นและเพื่อเดินทางมายังจุดเชื่อมต่อขนส่งมวลชน รวมทั้งส่งเสริม

1 กลุ่มสถิติการขนสง่ , กรมการขนส่งทางบก, https://web.dlt.go.th/statistics/
2 ปี 2564 : 809,743 คัน, ปี 2565 : 928,692 คนั

                                                                            3
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33