Page 261 - BMA Plan 68
P. 261

แผนปฏบิ ตั ริ าชการกรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568

                                    7. ดา้ นเศรษฐกิจดี

         บทวเิ คราะหส์ ถานการณ์และทศิ ทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568
                                      ด้านเศรษฐกิจดี

             ผลการดำเนินงานในการพัฒนากรุงเทพมหานครด้านเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินการภายใต้
แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 ในยุทธศาสตร์ที่ 6 การต่อยอดความเป็นเมืองศูนย์กลาง
สร้างสรรค์และการเรียนรู้ มี 3 ยุทธศาสตรย์ ่อยท่ีสำคัญ ได้แก่ 1) ยทุ ธศาสตรย์ ่อย 6.1 เมอื งแห่งโอกาสทางเศรษฐกิจ
และการลงทนุ โดยการสง่ เสรมิ การจำหนา่ ยผลิตภัณฑก์ รงุ เทพมหานครผา่ นช่องทางต่าง ๆ เชน่ มหกรรมผลติ ภัณฑ์
กรุงเทพมหานคร ตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต รวมไปถึงช่องทางออนไลน์ และการจัดกิจกรรมทั้งใน
และต่างประเทศ นอกจากนกี้ รุงเทพมหานครมีการสง่ เสรมิ ภาคการเกษตรจากเดิมท่มี ีพื้นที่การเกษตรเพียง 26 เขต
ให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต โดยได้มีการส่งเสริมการจัดอบรมใหความรู้แกเกษตรกรเกี่ยวกับการใช
เทคโนโลยี การลดใชสารเคมี และสนับสนุนให้สินค้าเกษตรของกรุงเทพมหานครได้รับมาตรฐานปลอดภัย
จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นที่ยอมรับในตลาดผู้บริโภค 2) ยุทธศาสตร์ย่อย 6.2 เมืองแห่งนักท่องเที่ยว
ระดับโลก เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทั้งในด้าน
สินค้าและบริการ ด้านความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม พร้อมสำรวจ
ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำนวน 6 แหล่ง ได้แก่ สะพานรักษ์ทะเล เขตบางขุนเทียน ร้อยละ 81.19
คลองผดุงกรุงเกษม เขตดสุ ติ ร้อยละ 83.40 วดั ลาดบัวขาว (ราชโยธา) เขตสะพานสูง รอ้ ยละ 93.40 วดั อนมั นิกายาราม
(วดั ญวนบางโพ) รอ้ ยละ 87.5 ตลาดนำ้ ตล่ิงชัน – ตลาดน้ำ สองคลองวัดตล่ิงชัน เขตตลง่ิ ชัน และตลาดเจริญกรุง 103
เขตบางคอแหลม ร้อยละ 90.2 ครอบคลุมทั้ง 6 กลุ่มเขต และได้ส่งเสริมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจเมือง จำนวน 21 ย่านใน 20 เขต โดยมีแหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ ได้แก่ ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ
ย่านตลาดพลู เขตธนบุรี ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ย่านบางลำพู เขตพระนคร ย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซ่ือ
ย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง และย่านเจริญกรุง 103 เขตบางคอแหลม อีกทั้งได้มีการจัดทำชุดข้อมูล
ทางประวัติศาสตร์ของเมืองและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และพื้นที่หรือย่านเก่าที่มีความน่าสนใจ ตลอดจนพื้นที่
จุดศูนย์รวมกิจกรรม (Nodes) จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ ย่านหัวตะเข้ ย่านบางลำพู ย่าน Little India (พาหุรัด -
คลองโอ่งอ่าง - สะพานหัน) ย่านตลาดน้อย ย่านรัตนโกสินทร์ ย่านเยาวราช – สำเพ็ง ย่านตลาดพลู และย่านคลอง
บางหลวง 3) ยุทธศาสตร์ย่อย 6.3 เมืองแห่งการจัดประชุมนิทรรศการและการจัดงานนานาชาติ ได้ดำเนินการ
ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ในการสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพ
และเข้าร่วมงาน ในการจัดประชุมและนทิ รรศการหรือไมซ์ (MICE) พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เมืองกรุงเทพมหานคร
จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) งาน The 61st International Congress and Convention Association Congress
2022 ณ เมืองคราเคา สาธารณรัฐโปแลนด์ 2) งาน Thailand MICE Road: ASEAN ณ นครโฮจิมินห์ สาธารณรฐั
สังคมนิยมเวียดนาม และ 3) เข้าร่วมงาน IMEX: The Essential Worldwide Exhibition for Meetings, Incentives
Travel & Events ณ นครแฟรงกเ์ ฟิร์ต สหพนั ธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

             จากนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลและนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในมิติ
เศรษฐกิจดีที่มุ่งให้เกิดการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจระดับย่าน และดึงดูดให้ชาวต่างชาติ
มาลงทุนในประเทศไทย ประกอบกับเป็นช่วงภายหลังจากสถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลายทำให้การท่องเที่ยว
ในกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครมีรายได้จากการ
ท่องเที่ยว 62,700 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2565 มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 443.81 (340,970 ล้านบาท) จากปี พ.ศ. 2564
และปี พ.ศ. 2566 มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.87 (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 459,864 ล้านบาท) จากปี พ.ศ. 2565
(ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศเริ่มกลับมาเที่ยว

                                                                                                    130
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266