Page 187 - BMA Plan 68
P. 187

แผนปฏิบัตริ าชการกรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568

                                     5. ดา้ นสขุ ภาพดี

         บทวิเคราะห์สถานการณแ์ ละทศิ ทางการพฒั นากรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568
                                      ด้านสขุ ภาพดี

             กรุงเทพมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างการบริหารจัดการระบบสุขภาพที่มีความ
ซับซ้อนแตกต่างจากส่วนภูมิภาคอื่นของประเทศ การกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพที่ส่งเสริมให้ คน
กรุงเทพฯ อยู่อย่างมีสุขภาพดี จึงถือเป็นหน้าที่หลักสำคัญ โดยดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติราชการ
กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์
ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.5 เมืองสุขภาพดี (Healthy City) ควบคู่กับการขับเคลื่อนนโยบายของผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครมติ ิสขุ ภาพดี ที่ม่งุ เน้นการสร้างความเขม้ แขง็ ด้านสุขภาพต้ังแต่ระบบเสน้ เลือดฝอย (ระบบสุขภาพ
ปฐมภูมิ) ด้วยการยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข ได้แก่ การเปิดให้บริการดูแลรักษาและสังเกตอาการผู้ป่วย
ทีศ่ ูนย์บรกิ ารสาธารณสุขหรอื ศบส. พลัส จำนวน 6 แหง่ การพัฒนาศูนยบ์ รกิ ารสาธารณสุขสาขาให้เป็นศูนย์แพทย์
ชุมชนเมือง จำนวน 6 แห่ง และการยกระดับคลินิกกายภาพบำบัดเป็นศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพได้จำนวน
4 แห่ง รวมถึงการพัฒนาระบบการพยาบาลที่บ้านสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
ในลกั ษณะHome Ward โดยศูนย์บริการสาธารณสขุ ท้ัง 69 แหง่ และโรงพยาบาลเครอื ข่ายทงั้ ภาครฐั และเอกชน จำนวน
85 แห่ง สามารถเข้าถงึ บริการและประสานงานผ่านศนู ย์สง่ ตอ่ เพ่ือการพยาบาลต่อเนอื่ งทบี่ ้าน (BMA Home Ward
Refferal Center) โดยในปี 2566 มจี ำนวนผูป้ ่วยและผู้สูงอายุท่ีได้รับการดูแลเย่ียมบ้าน จำนวน 25,028 คน (รายใหม่)
จากจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระบบส่งต่อ BMA Home Ward Referral ทั้งหมด 25,693 คน คิดเป็นร้อยละ 97.412
ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ การให้บริการตรวจสุขภาพเชิงรุกด้วยรถตรวจสุขภาพเชิงรุก (Mobile Medical
Unit) สำหรบั ประชาชนในชมุ ชนเพือ่ คดั กรองสุขภาพประชาชนไดถ้ งึ 158,601 ราย

             สำหรับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในระดับทุติยภูมิเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้โรงพยาบาล
ในสังกัดสำนักการแพทย์ 11 แห่ง ด้วยการพัฒนาศูนย์ความเลิศทางการแพทย์ (Excellence Center) เพื่อตอบโจทย์
การแก้ไขปัญหาโรคคนเมือง ได้แก่ โรคอ้วน โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ฯลฯ นอกเหนือจากโรคต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์เขตเมืองแล้ว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศสู่สังคมผู้สูงอายุ
นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของบุคคลวัยทำงานลดลงนำไปสู่สถานการณ์ที่สำคัญ
คือ ปัญหาสุขภาพที่กระทบต่อการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งในด้านสุขภาพและสังคม กรุงเทพมหานครจึงได้
เตรียมความพร้อมในการจัดบริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุที่ครบวงจรทั้งทางด้านการป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการเป็นสถาบันฝึกอบรมทางด้านเวชศาสตร์
ผู้สูงอายุ และการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุให้สามารถดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อเป็นการดูแลผู้สูงอายุที่ครบทุกมิติทั้งมิติสุขภาพและสังคม โดยทีมสหวิชาชีพดูแลต่อเนื่องจนถึงบ้าน
และมีการขยายผลไปยังโรงพยาบาลนอกสงั กัดกรุงเทพมหานคร

             สำหรับทิศทางการพัฒนาของมิติสุขภาพในปี 2568 กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นการขับเคลื่อน
นโยบายสุขภาพดีปี 2 BKK Health Zone ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาประชาชนให้ครอบคลุมระดับ
พื้นที่ โดยการพัฒนาพื้นที่ Sandbox ด้านการแพทย์ผ่านโครงการ Bangkok Health Zoning ในกลุ่มเขตสุขภาพ
เพื่อออกแบบการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขด้วยการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ
และตติยภูมิขั้นสูงให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ทั่วถึงระดับเส้นเลือดฝอย โดยกรุงเทพมหานคร
เป็นเจา้ ภาพในการจัดตั้งกรรมการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องรว่ มกนั กบั เครือข่ายหนว่ ยบรกิ าร ประกอบดว้ ย โรงพยาบาล

                                                                                                     89
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192