Page 154 - BMA Plan 68
P. 154

แผนปฏิบตั ริ าชการกรงุ เทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568

                                    4. ด้านสง่ิ แวดล้อมดี

         บทวเิ คราะหส์ ถานการณแ์ ละทิศทางการพฒั นากรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2568
                                     ดา้ นสงิ่ แวดลอ้ มดี

             กรุงเทพมหานครดำเนินการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งให้ประชาชนเข้าถึงสุขภาวะ
สิ่งแวดล้อมเมือง (Urban Environmental Health) ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศได้อย่างเท่าทัน ด้วยการพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อสุขภาวะที่ดีและมีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ตามมาตรฐานสากล สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่น กระจายทั่วในพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่งเสริมการจัดการคุณภาพ
อากาศให้ได้มาตรฐาน ส่งเสรมิ การกำกับดูแล ฟนื้ ฟู และพัฒนาแหลง่ น้ำใหม้ คี ณุ ภาพ ตามมาตรฐาน ส่งเสรมิ การใช้พลังงาน
อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร และดำเนินงาน
ตามแผนแม่บทกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำและรับมือ
ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภมู อิ ากาศ

             ผลการดำเนินการเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ 1) ด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและต้นไม้
กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะและสวนหย่อมรวม 26,793 ไร่ 43.12 ตารางวา
หรอื 42,868,972.48 ตารางเมตร โดยมีสวนสาธารณะขนาดใหญร่ วม 40 แห่ง สามารถดำเนนิ การเพ่ิมพื้นท่ีสีเขียว
ได้ 7.75 ตารางเมตร/คน จากเป้าหมายตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) 9 ตารางเมตร/คน โดยปลูกต้นไม้
ได้ 286,175 ต้น รวมตั้งแต่เริ่มนโยบายปลูกต้นไม้ล้านต้น 681,709 ต้น และสร้างสวนสำหรับสุนัข 2 แห่ง ได้แก่
สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) และสวนสาธารณะต่างระดับพรานนก - พุทธมณฑลสาย 4 รวมตั้งแต่เริ่มนโยบาย
พิจารณาให้นำสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกายในสวน 6 แห่ง 2) ด้านการจัดการขยะ อากาศ และน้ำเสีย ดำเนินการส่งเสริม
การลดและคัดแยกขยะตามประเภทแหล่งกำเนิดได้ 9,350 แห่ง การจัดการคุณภาพอากาศสามารถควบคุม
แหล่งกำเนิดตามเป้าหมายที่กำหนด แบ่งเป็น แหล่งกำเนิดยานพาหนะ 130,360 คัน แหล่งกำเนิดเตาเผาศพ/
ฌาปนสถาน 308 แห่ง และแหล่งกำเนิดโครงการก่อสร้าง 567 โครงการ สำหรับผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน
10 ไมครอน (PM10) ค่าเฉล่ยี 24 ช่ัวโมง ตรวจวดั ได้ชว่ ง 7 – 183 ไมโครกรมั ต่อลกู บาศกเ์ มตร ผา่ นเกณฑม์ าตรฐาน
คิดเป็นร้อยละ 98.91 และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ช่วง 4 – 134
ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 93.96 ก๊าซโอโซน (O3) ค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมง
ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 99.10 และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ผ่านเกณฑ์
มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 100 ในส่วนของการจัดการคุณภาพน้ำ กรุงเทพมหานครเดินระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่
จำนวน 8 แห่ง คือ โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา รัตนโกสินทร์ ช่องนนทรี หนองแขม ทุ่งครุ ดินแดง จตุจักร
และศูนยก์ ารศกึ ษา และอนรุ กั ษ์ส่ิงแวดลอ้ มบางซ่ือ กรงุ เทพมหานครสามารถบำบดั น้ำเสียได้ 1,112,000 ลูกบาศกเ์ มตรต่อวัน
ครอบคลุมพื้นที่รวม 192.14 ตารางกิโลเมตร สำหรับการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว
ของกรุงเทพมหานคร ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับทองแดง (ดี) ขึ้นไป 26 พื้นที่ดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2561
กรุงเทพมหานครปล่อยก๊าซเรือนกระจก 44.06 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แบ่งเป็น ภาคขนส่ง และจราจร
12.65 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภาคพลังงาน 25.74 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภาคการจัดการขยะ
และน้ำเสีย 5.67 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ส่วนภาคการวางผังเมืองสีเขียว มีการดูดซับก๊าซเรือนกระจก
0.01 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขณะที่แผนแม่บทกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กำหนดเปา้ หมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10.15 ล้านตนั คารบ์ อนไดออกไซด์เทียบเทา่ ภายในปี พ.ศ. 2573

                                                                                                     71
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159