การประหยัดพลังงานด้วยการใช้โซลาร์เซลล์ 🔆 เป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าของประชาชน 💸💰 เพราะปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นสิ่งที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ การติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้ อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาด 🍃✨
และกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ในการประหยัดพลังงาน จึงมีความตั้งใจดี 💚 ขับเคลื่อนแผนแม่บทโลกร้อน และตั้งเป้าให้กรุงเทพฯ เป็น “มหานครโซลาร์เซลล์ 🌆” เชิญชวนทุกฝ่ายลดก๊าซเรือนกระจก ร่วมลดคาร์บอน 10 ล้านตันภายในปี 2573 โดยภาพรวมโครงการมีทั้งหมด 160 โครงการ แบ่งเป็นด้านการลดก๊าซเรือนกระจก 133 โครงการ และด้านการปรับตัว 27 โครงการ โดยจะมีแผนพัฒนาการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 60 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมพลังงานสะอาด สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับคนกรุงเทพฯ ในอนาคต 🌳
โดยโครงการจะประกอบไปด้วย 3 แกนหลัก ดังนี้
1.อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์
🟢 ส่วนที่ 1 สามารถติดบนหลังคาอาคาร ที่มีน้ำหนักรวมบริเวณใดบริเวณหนึ่งเกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร ไม่ต้องขออนุญาตติดตั้ง แต่ต้องมีวิศวกรโยธารับรองความมั่นคงแข็งแรง
🟢 ส่วนที่ 2 สามารถติดบนหลังคาอาคารที่มีน้ำหนักรวมบริเวณใดบริเวณหนึ่งไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ไม่ต้องมีวิศวกรโยธารับรอง
2. ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในหน่วยงาน กทม.
🟢 ติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงบำบัดน้ำเสีย 8 แห่ง กำลัง 1.7 เมกะวัตต์ (MW) คาดการณ์ผลผลิต 2,164 เมกะวัตต์ฮาว (MWh) ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 967 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ต่อปี
🟢 ติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาลสังกัด กทม. 9 แห่ง กำลัง 2.7 เมกะวัตต์ (MW) คาดการณ์ผลผลิต 3,781 เมกะวัตต์ฮาว (MWh) ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 2,152.50 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ต่อปี
🟢 และตั้งเป้าติดตั้ง 10 เมกะวัตต์ (MW) เพิ่มเติมในปี 2568
3. สำรวจฐานข้อมูลโซลาร์เซลล์ในพื้นที่กรุงเทพฯ
🟢 ปัจจุบัน พบการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 348 แห่ง (จาก 34 เขต) กำลังผลิต 26.5 เมกะวัตต์ (MW) แบ่งเป็น กำลังการผลิตน้อยกว่า 20 กิโลวัตต์ (KW) 296 แห่ง และมากกว่า 20 กิโลวัตต์ (KW) 52 แห่ง
นอกจากนี้กรุงเทพมหานครได้ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนไม่ว่าจะเป็น 🔋⚡️
เรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์⛴️⚡️เพื่อจัดการขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง สามารถเก็บขยะได้วันละ 50,000 – 100,000 ชิ้น
เดินหน้าแนวทางสำนักงานสีเขียว (Bangkok Green Office) 🏢🌳💚 เพื่อบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่มุ่งเป็นเมืองที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
การส่งเสริมให้เป็นเมืองสีเขียวเพิ่มขึ้น ด้วยการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า และมีนโยบายเปลี่ยนใช้รถเก็บขยะมูลฝอยแบบ EV 🚛🔋และปรับเปลี่ยนรถราชการของกรุงเทพมหานครเป็นรถ EV 🚙🔋นอกจากช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ลดไอเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้รถยนต์สันดาปได้อีกด้วย
ทั้งหมดนี้คือความตั้งใจดีของกรุงเทพมหานคร 💚 ที่อยากให้กรุงเทพฯ ของเรามุ่งสู่เมืองที่มีความยั่งยืน ทั้งพลังงานและสิ่งแวดล้อม จึงอยากเชิญชวนให้ชาวกรุงเทพฯ ทุกคนมาร่วมกันประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งชืนให้กับเมืองของเรากันเถอะครับ 🌎🌳
#มหานครโซลาร์เซลล์ #สิ่งแวดล้อมดี